“TH Sarabun New” เป็นฟอนต์สารบรรณที่แก้ปัญหา เรื่อง การเปิดเอกสารแล้วฟอนต์แสดงผลผิดพลาด ทั้งที่ใช้ฟอนต์ TH Sarabun จากการที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการฟอนต์มาตรฐานราชการไทย เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์ อื่น ๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สอซช.) หรือ "Software Industry Promotion Agency” เรียกโดยย่อว่า "SIPA” และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) และใช้ฟอนท์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย จำนวน 13 ฟอนต์ เป็นฟอนต์ฟรีแวร์ แจกฟรี สำหรับใช้งานเอกสาร และงานด้านกราฟิก โดยท่านสามารถดาวน์โหลดใช้งาน ทั้งบนระบบ Windows และ ระบบ Open source THAI OS Ubuntu และ mac OS โดยทั้ง 13 ฟอนต์ ดังกล่าวมีรายชื่อดังนี้

TH Krub
TH Niramit AS
TH Kodchasal
TH Sarabun PSK
TH K2D July8
TH Mali Grade 6
TH Chakra Petch
TH Baijam TH KoHo
TH Fah Kwang
TH Charmonman
TH Srisakdi
TH Charm of AU

ในบรรดาฟอนต์มาตรฐานราชการไทย 13 ฟอนต์ ข้างต้น ฟอนต์ที่ได้รับความนิยม สำหรับใช้งานเอกสาร คือ ฟอนต์ TH Sarabun PSK แต่อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการใช้งานฟอนต์มาตรฐานราชการไทย ประสบปัญหาอยู่บ้างเช่น ปัญหาความถนัดกับการพิมพ์ ตัวเลขอารบิค มากกว่า ตัวเลขไทย อีกทั้งปัญหาของ ตัวปกติ กับ ตัวหนา ดูไปแล้วไม่มีความแตกต่าง

จากปัญหาทั้งสอง ทำให้มีผู้พัฒนาฟอนต์ TH Sarabun IT๙ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิมพ์ตัวเลขอารบิค แล้วจะทำการแปลงเป็นตัวเลขไทยอัตโนมัติ (เท่าที่ทราบ ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ที่พัฒนาขึ้นนั้น ไม่ได้ถูกกำหนดใน 13 ฟอนต์มาตรฐาน) จากปัญหาดังกล่าวนี้เอง ทำให้เอกสารที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้ ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ไม่สามารถนำไปเปิดได้อย่าถูกต้องกับเครื่องที่ไม่ได้ติดตั้ง ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ไว้ การแก้ปัญหาเบื้องต้น ก็คือ ไฟล์ติดตั้ง ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ไปติดตั้งในเครื่อง (แต่ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ไม่ได้ถูกกำหนดใน 13 ฟอนต์มาตรฐาน)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ก็ยังมีนะครับ เนื่องจาก วิธีการพัฒนาอักษรชุด IT๙ นั้น ใช้วิธีแก้ลายของแบบอักษร คือ เมื่อพิมพ์เลข "1" มันจะแสดงผลเป็น "๑" แต่ในความเป็นจริงแล้ว คอมพิวเตอร์ยังเก็บข้อมูลเป็น "1" อยู่ ซึ่งในกรณีนี้ ดูเผิน ๆ แล้ว เหมือนจะไม่เป็นปัญหา ผมขอเสนอกรณีตัวอย่างดังนี้นะครับ กรณีตัวอย่าง ที่จะทำให้เกิดปัญหา
นาย A พิมพ์เอกสารประมาณ 10 หน้า ใช้ฟอนต์ Sarabun IT๙ (เมื่อเราพิมพ์เลขอารบิค มันจะแสดงผลเป็นตัวเลขไทย) ซึ่งในเอกสารมีข้อความว่า "โครงการนี้ต้องการใช้งบประมาณ ๑๒๐๐ บาท" (คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลเป็น "โครงการนี้ต้องการใช้งบประมาณ 1200 บาท")
นาย B ตรวจเอกสารแล้ว พบข้อมูลเลขงบประมาณผิดพลาด จึงแก้ข้อมูลเฉพาะเลข ๓ เป็น "โครงการนี้ต้องการใช้งบประมาณ ๑๓๐๐ บาท" (คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลเป็น "โครงการนี้ต้องการใช้งบประมาณ 1๓00 บาท" เพราะนาย B ใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK โดยพิมพ์ตัวเลขไทยไม่ได้พิมพ์ด้วยเลขอารบิคเช่นเดียวกับเหมือนนาย A )

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของปัญหาที่เกิดจากฟอนต์ Sarabun IT๙ ดูเผินๆ แล้ว มันอาจจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ระยะยาวแล้ว เมื่อปัญหานี้เกิดกับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจแล้ว ผู้ใช้อาจเข้าใจว่า คอมพิวเตอร์มีไวรัส ฟอนต์ไม่สมบูรณ์ โปรแกรมพิมพ์เอกสารไม่ดี ก็เป็นได้ ดังนั้น ผมมีความคิดเห็นว่า น่าจะเลิกใช้ฟอนต์ที่ถูกพัฒนาด้วยวิธีดังกล่าวเถิดครับ

ต่อมามีข่าวดีสำหรับแฟน ๆ ฟอนต์ TH Sarabun PSK ทุกท่าน เนื่องจาก SIPA ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ร่วมกันแก้ไขสัญญาอนุญาตฟอนต์ TH Sarabun ตัวนี้ใหม่เป็น GPL 2.0 + Font exception เพื่อให้เป็นฟอนต์ที่เสรียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ที่มีใน TH Sarabun PSK ตัวเดิมเรียบร้อยแล้ว และขอให้นำไปใช้กันได้อย่างสะดวกขึ้น โดยสามารถดาวน์โหลด ฟอนต์ TH Sarabun New ได้ที่ f0nt.com

สรุปแล้วไม่ควรสร้างเอกสารโดยใช้ฟอนต์ Sarabun IT๙ แล้วส่งให้กับผู้อื่น ขอแนะนำให้ ชาว สสช.ใช้ฟอนต์ที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน สิ่งใดที่ไม่ได้ถูกกำหนดในมาตรฐานก็น่าจะหลีกเลี่ยง เพื่อผู้ที่ได้รับไฟล์เอกสารที่เราส่งไป จะได้ไม่ต้องแก้ไข และยังทำให้เอกสารของเราสามารถเปิดใช้งานได้ตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ

ดาวน์โหลด 13 ฟอนต์แห่งชาติ รุ่น GPL2
Share To:

clubnso4u

Post A Comment:

0 comments so far,add yours