ในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ ทั้งในระดับพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และระดับสาขาสถิติ ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในแต่ละเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการภายใต้กลไกของแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ. 2555 – 2559 ซึ่งมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานในปีแรกให้คณะรัฐมนตรีทราบ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556 ให้มีการดำเนินการต่อไป (อ่านรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรี)

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐจากผลการดำเนินงานร่วมกันภายใต้การพัฒนาระบบสถิติประเทศไทยในขณะที่หน่วยงานภาครัฐกำลังดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการสถิติรายสาขา และเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อให้มีการจัดทำข้อมูลและสถิติของรัฐที่เป็นทางการ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าสถิติทางการ (Official Statistics) นั้น ซึ่งประกอบด้วยผังสถิติทางการรายสาขา 21 สาขาสถิติ (Function Base) รวมทั้งผังสถิติทางการระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (Area Base) ในนี้การสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการบูรณาการข้อมูลและสถิติ ทั้งจากที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำขึ้นเองและที่รวบรวมจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลและสถิติ ในภาพรวมของประเทศ (Issue Base) เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลและสถิติ ได้มีข้อมูลและสถิติที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ 

ประโยชน์ของการบริหารจัดการระบบสถิติในระดับพื้นที่ 
  • มีชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็น สำหรับใช้ในการตัดสินใจ การกำหนดยุทธศาสตร์ (Positioning) และกำหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้กับผู้บริหารในพื้นที่ 
  • มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงระบบข้อมูลของส่วนกลางให้รองรับการพัฒนาและความต้องการของยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด 
  • มีการเผยแพร่และสร้างวัฒนธรรมการผลิตข้อมูลทางสถิติและการประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ 
  • มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสถิติในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
ประโยชน์ของการบริหารจัดการระบบสถิติในระดับสาขา
  • มีระบบข้อมูลสถิติเต็มรูปแบบที่สำคัญและจำเป็นอยู่ที่ส่วนกลาง หน่วยงานต่างๆสามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันได้ 
  • ลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสถิติ
  • ข้อมูลมีความเที่ยงตรง แม่นยำ จัดหาได้อย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาของหน่วยงานต่างๆจะเพิ่มประสิทธิภาพสูง
  • สถิติที่ดีจะส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์เกิดผลสัมฤทธิ์
  • สังคมโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลด้วยการมีและการใช้ข้อมูลสถิติ
Share To:

msawisit

Post A Comment:

0 comments so far,add yours