Top News

หลายท่านคงสงสัยว่า ฟอนต์ก็มีเวอร์ชั่นด้วยหรือ จริงๆ ฟอนต์ก็เหมือนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นักพัฒนาได้สร้างโปรแกรมออกมาให้ใช้ พอผ่านไประยะหนึ่งก็มีการอัตเดท ก็ต้องเป็นเวอร์ชั่นใหม่ ฉะนั้นฟอนต์ ก็มีลักษณะเดียวกัน จึงอาจทำให้การสร้างเอกสารงานพิมพ์ของเรามีปัญหา หรือเพี้ยน ทั้งๆ ที่ได้สร้างเอกสารงานพิมพ์ตามมาตรฐาน ด้วยการใช้ Style หรือตั้งค่าก่อนการพิมพ์ ด้วยโปรแกรม MicroSoftOffice Word บนเครื่องตัวเอง แต่เอกสารงานพิมพ์นี้มีความจำเป็นที่ต้องส่งให้ท่านอื่น ไม่ว่าจะแก้ไขต่อ ฝากสั่งพิมพ์งาน หรือเปลี่ยนเครื่องทำงาน แต่พอเปิดเอกสารก็จะพบว่าเอกสารจำนวนบรรทัดไม่เท่ากับเครื่องแรกที่สร้างไฟล์นี้ หรือเอกสารมีความเพื้ยน นั่นเอง เช่น
ภาพจำนวนบรรทัดที่ได้


ภาพขยาย

เปิดอีกเครื่อง ด้วยไฟล์เดียวกัน บน MicrosoftOffice Word2013 จะพบว่าเนื้อหาในหน้าที่ 1 มีจำนวนบรรทัดไม่เท่ากัน
ภาพจำนวนบรรทัดที่ได้
ภาพขยาย
หากคุณพบปัญหานี้ ดังภาพตัวอย่างข้างบน ให้คุณตรวจสอบปัญหาดังต่อไปนี้
1. การตั้งค่าหน้ากระดาษเป็น A4 หรือไม่
2. เครื่อง Printer ของคุณได้ตั้งค่ากระดาษเป็น 4A หรือไม่
3. ฟอนต์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกันหรือไม่ จากตัวอย่างเกิดจาก ฟอนต์ TH SarabunPsk คนละเวอร์ชั่น


ทดสอบ
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างเพื่อทดสอบจำนวนบรรทัด ตามบทความนี้ ไฟล์เอกสารสำหรับทดสอบ เมื่อคุณได้ทดสอบพบว่าจำนวนบรรทัดในเอกสารของคุณมี 27 บรรทัด แสดงว่าคุณใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK เวอร์ชั่นปัจจุบัน (V1.1 ขนาดของไฟล์ฟอนต์ อยู่ที่ 97.6 KB) แต่หากคุณพบจำนวนบรรทัดเป็น 31 บรรทัด แสดงว่าคุณใช้ฟอนต์เวอร์ชั่นเก่า โดยสามารถดาวน์โหลดฟอนต์ TH SarabunPSK เวอร์ชั่นปัจจุบันได้ที่ ดาวน์โหลดฟอนต์ TH SarabunPSK Version 1.1 
ในการติดตั้งควรลบชุดฟอนต์ TH SarabunPSK เดิมออกก่อน
หมายเหตุ
  • การเปิดจำนวนบรรทัด สามารถเปิดได้ที่เมนู Page Layout , แล้วเลือก Continuous ถ้าต้องการปิดให้ทำคลิกที่ Continuous อีกครั้ง (เครื่องหมายถูกจะหายไป)
  • การฝังฟอนต์ช่วยได้ในกรณีที่เครื่องปลายทางไม่มีฟอนต์ แต่หากมีฟอนต์อยู่แล้วก็จะไปดึงฟอนต์ที่เครื่องมาแสดงผล
  • ขนาดฟอนต์ 97.6 KB คือไฟล์ฟอนต์ขนาดปกติ ในชุดฟอนตืนี้ ไม่ใช่ฟอน์ตัวหนา หรือตัวเอียง

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ปี 2558 สหประชาชาติ ได้ประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนMap SDGs 1 (Sustainable Development Goals; SDGs) ทดแทนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals; MDGs) ซึ่งหมดอายุลงในปี 2558 โดยจะเป็นข้อผูกพันสำหรับชาติสมาชิกที่ได้ให้การรับรอง (193 ประเทศ) ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly – UNGA) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 รวมทั้งประเทศไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว จะถูกใช้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางการพัฒนาทั้งของไทยและของโลกนับจากนี้ จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี ที่ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย (Goal) 169 เป้าประสงค์ (Target) ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล อันเป็นสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ไม่ทำลายแหล่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งจะต้องร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดูข้อมูล SDGs

Dell Optiplex 380 เห็นสำนักงานฯ ส่วนใหญ่ยังใช้กันอยู่ และก็เกิดปัญหาบ่อย ๆ ดับบ้างติดบ้าง อย่างเช่น อาการไฟเลข 3 กับ 4 ค้าง อาการแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับ Dell Optiplex 320, 330, 380 ทำงานอยู่ สักพักเครื่องดับเอง ขึ้นหน้าจอสีฟ้า แล้วก็ดับไป ขึ้นหมายเลข 3 , 4 แทน หน้าจอมืด ไม่มี Logo Dell ปุ่มกดหน้าจอเป็นสีส้ม


สังเกตจากอาการ 

  1. ปุ่มกดจอเป็นสีส้มแสดงว่าหน้าจอไฟเข้า จอคือปกติ 
  2. พัดลม ซีพียู หมุน แสดงว่าไฟเข้าเครื่องแต่ไม่สามารถเข้าวินโดว์ 
  3. ไม่มีเสียงร้องจากในตัวเครื่อง มีแต่สถานะ หมายเลข 3 , 4 ปุ่มกดเป็นสีเขียว 
Dell เขาจะมีลักษณะเฉพาะของเค้าคือมีสถานะบอก ให้ง่ายต่อการหาปัญหา นั้นก็คือหมายเลขที่ด้านหน้าปุ่มกดของเครื่อง อาการไฟค้างเลข 3, 4 คือ แรมหลวม



การแก้ปัญหา 

  1. ปิดเครื่องคอม ถอดสายออกก่อนเพื่อความปลอดภัยของผู้ซ่อม 
  2. ถอดแรมออก โดยการกดด้านข้างของสลอดแรมทั้ง 2 ข้าง แล้วจึงดึงแรมขึ้นมา ทำความสะอาด 
  3. ทำความสะอาดโดยการใช้ยางลบ ถูบริเวณ แถบสีทอง แต่ให้ระวังนะคะ อย่าให้ไปถูก ตัวดำที่อยู่ในกรอบสีเขียว ไม่งั้นอาจจะเป้นอันตรายต่อแรมของเราคะ 
  4. เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้นำเสียบเข้าไปที่เดิมให้แน่น 
  5. ลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
ข้อควรระวัง
อย่าลืมถอดปลักไฟออกก่อน  อย่าถูถูกบริเวณกรอบสีเขียว

เพิ่มเติม Dell LED Error Codes ไฟ 4 หลอดบอกอาการเครื่องเดลล์ 



1. เว็บไซต์แสดงผลได้ช้ามาก ๆ

พูดง่าย ๆ ก็คือเว็บโหลดได้ช้ามาก ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการรอให้เว็บไซต์แสดงผลนานมาก แน่นอนว่าเวลาในการแสดงผลของเว็บไซต์มีหลายปัจจัย เช่น ความสามารถของ web server ความเร็วของอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน แต่ปัจจัยต่าง ๆนั้นเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุที่เราสามารถควบคุมได้อยู่ที่ขนาดของเว็บเพจ

ขนาดของเว็บเพจนั้นไม่ควรเกิน 60 KB ขนาดของเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นมีเหตุมาจาก รูปภาพที่ใช้มีขนาดใหญ่เกินไป การเปิดเพลงประกอบในเว็บไซต์ (ทำให้ผู้ชมต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดเพลง แน่นอนว่าไฟล์เพลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 KB อยู่แล้ว) การใช้ไฟล์ flash ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 

2.ไม่มีเนวิเกชัน

เนวิเกชัน คือ ส่วนที่ใช้ลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นเมนูด้านบนของของ nsocenter จะเห็นว่ามีลิงก์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น สำนักงานสถิติจังหวัด การจัดการระบบสถิติของจังหวัด สิ่งพิมพ์ แผนผังเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่ดีควรมีเนวิเกชันในทุกหน้า เพราะในปัจจุบันเราทราบดีอยู่แล้วว่ากว่า 80% ของผู้ใช้งานรู้จักเว็บไซต์ของเราจาก search engine ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าให้ search engine แสดงหน้าใดให้ผู้ใช้งานดู ถ้า search engine แสดงผลในหน้าที่ไม่มีเนวิเกชัน อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ว่าเว็บไซต์ของเรามีแค่หน้าที่แสดงผลเพียงหน้าเดียว 

การแสดงผลเนวิเกชันควรแสดงผลในตำแหน่งเดียวกัน เพราะถ้าเราเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ 

3. การใช้สีสันที่แสบตา

หลายคนคงเคยเห็นเว็บไซต์ที่ใช้สีพื้นหลังเป็นสีโทนสว่างมาก ๆ เช่น สีส้ม สีเหลือง แล้วใช้ตัวอักษรในโทนสว่างอีกเช่นเดียวกันเช่น สีฟ้า ทำให้การอ่านเนื้อหาในเว็บเพจทำได้ยากมาก ๆ ถึงแม้จะทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม ก็ควรหลีกเลี่ยง การใช้พื้นหลังโทนมืด และตัวหนังสือโทนสว่าง เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำเว็บไซต์ หรือพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีดำก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันมาก 

4. การสะกดคำผิด

การสะกดคำผิดพลาด การเขียนผิด หรือการใช้ภาษาวิบัติ ก็ไม่ควรให้มีในเว็บไซต์ เพราะจะส่งผลให้เข้าใจผิดพลาดได้

5. เนื้อหาในเว็บเพจ

ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างจริงจัง หรือตั้งใจอ่านอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรทำให้เนื้อหาของเราอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้การเว้นวรรค การใส่ย่อหน้า และการเขียนให้กระชับที่สุด เน้นส่วนของข้อความที่เราต้องการสื่อให้มากที่สุด 

6. ขนาดของตัวอักษร และชนิดของตัวอักษร font

ในบางครั้งการแสดงตัวอักษรที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ browser ของผู้ใช้ ก็เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์ ข้อแนะนำคือเราควรใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลตัวอักษรให้เป็นไปในทางเดียวกัน จะทำให้เว็บไซต์ของเราดูดี และอ่านได้ง่ายขึ้น

7. การเว้นวรรค การเว้นบรรทัด และการจัดช่องไฟของตัวอักษร

เราสามารถใช้คำสั่ง CSS ในการจัดช่องไฟของตัวอักษรได้ การจัดช่องไฟให้ตัวอักษร การเว้นวรรคที่ดี และการเว้นบรรทัดของเนื้อหาที่ดี ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราดูดีขึ้นได้มากทีเดียว 

8. การใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดมันได้

ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ อาจเพื่อจูงใจลูกค้า ต้องแน่ใจว่าได้ทำปุ่มสำหรับปิดเพลงนั้นไว้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถปิดมันได้โดยง่าย และเห็นมันอย่างชัดเจน มิฉะนั้นเพลงที่ใส่ไปอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้ 

9. การทำเว็บไซต์โดยไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อน

องค์ประกอบของหน้ามีความสำคัญมาก ถ้าไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การใส่เนื้อหาในหน้ามากเกินไป คุณอาจเห็นหลายเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ของหน้าแทบจะทุกจุดของเว็บเพจก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าผู้ใช้งานไม่เคยตั้งใจอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง การใส่เนื้อหาที่มากไปจะทำให้คุณไม่สามารถสื่ออะไร หรือบอกอะไรได้เลย ดังนั้นจึงควรใส่เนื้อหาที่คุณอยากจะสื่อ และแบ่งสัดส่วนต่าง ๆให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเห็นได้ชัดเจน 

รูปแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าก็มีความสำคัญมาก คุณไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ 

10. การทำหน้าเว็บเพจที่ยาวเกินไป

เนื้อหาที่ยาวจนเกินไปไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้การแสดงผลเว็บเพจนั้นช้าแล้ว ยังส่งผลผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อด้วย ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ และให้ผู้ใช้งานโหลดทีละตอนจะดีกว่า 

11. การทำลิงก์ที่ผิดพลาด

ลิงก์เป็นส่วนที่สำคัญมากของเว็บไซต์ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเราไปยังส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ เราจึงควรทำให้ส่วนที่เป็นลิงก์มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเปลี่ยนสีของลิงก์

12. ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง

คำนี้ไม่ควรให้มีในเว็บเพจของคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานผิดหวังที่จะต้องรอหน้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่สมบรูณ์ ยังไมได้มาตราฐาน 

13. ไม่ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อน

การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการแสดงผลใน browser กับการแสดงผลตอนที่เขียนเว็บเพจอาจไม่เหมือนกันก็ได้ ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบเว็บเพจทุกหน้า ถ้าจะให้ดีควรใช้หลาย ๆ browser ในการตรวจสอบ 

14. เนวิเกชันที่ไม่สื่อความหมาย

การใช้เนวิเกชันที่ไม่สือความหมาย เมื่อคลิกแล้วไม่สามารถเปิดหน้าที่ลิงก์ไว้ได้ มีข้อผิดพลาด (error) ในเนวิเกชัน และมีหลายปุ่มให้เลือกมากเกินไป จะส่งผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เนวิเกชันที่ดีควรมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ดี ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และควรครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไซต์ใหญ่มาก ก็ควรครอบคลุมในหมวดนั้น ๆ การใช้คำก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือเป็นคำที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มไม่ควรใช้ 

15. ทำเว็บไซต์อย่างลวก ๆ

การทำเว็บไซต์อย่างลวก ๆ เช่น คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมา แล้วมีการตกหล่น หรือไม่มีภาพแสดงเหมือนเว็บไซต์ต้นฉบับ การพิมพ์ผิด หรือการเขียนข้อความที่ไม่สื่อความหมาย การใช้ภาษาวิบัติ เนื้อหาของเว็บไซต์คือทุกอย่างของเว็บไซต์ เราจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาให้มาก ๆ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาด หรือผิดพลาดให้น้อยที่สุด 

16. ไม่เคยอัพเดทเว็บไซต์เลย

การอัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำก็ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ ว่าเว็บไซต์ของเรายังมีผู้ดูแลอยู่ และเนื้อหายังได้รับการปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออันดับใน search engine อีกด้วย [ดูว่ามีจังหวัดไหนอัพเดตแล้วบ้างที่นี่]

17. จำนวนคลิกเพื่อเข้าถึงข้อมูลมากเกินไป

หลาย ๆ เว็บไซต์จะเก็บเนื้อหาในส่วนที่คิดว่าดีเอาไว้ โดยผู้ใช้งานจะต้องผ่านการคลิกนับครั้งไม่ถ้วน ผ่านโฆษณามากมายกว่าจะมาถึงเนื้อหาที่สนใจได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก อย่าที่บอกไปว่าเว็บของเราห่างจากเว็บอื่นเพียงคลิกเดียว ถ้าเราทำให้เกิดความลำบากยากเย็นในการเข้าถึงเนื้อหา หรือส่วนที่ผู้ใช้งานสนใจ ก็ทำให้ผู้ใช้งานท้อ หรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้งานต่อไปได้

จำนวนคลิกที่มากที่สุดที่ควรทำคือ ไม่เกิน 3 คลิก ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงส่วนที่เขาสนใจ 

18. ไม่มีที่อยู่ หรือที่ติดต่อกลับ

เว็บไซต์หน่วยงานราชการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนของ ติดต่อเรา  contact information ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  email สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้นที่จะต้องมีในเว็บ 

19. รูปภาพ

รูปภาพก็เป็นส่วนสำคัญของเว็บไซต์ จึงควรดูและส่วนนี้ให้ดี ไม่ควรให้เกิดการผิดพลาดในการแสดงรูปภาพ และควรบีบอัดไฟล์รูปให้ถูกต้องกับรูปแบบ ดู Format File รูปภาพต่าง ๆ และการนำไปใช้ที่นี่

20. เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีที่สุดในขนาด 1024 x 768

การกำหนดขนาดที่ใช้ในการแสดงผล หรือ browser ที่ใช้แสดงผลเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันมีหน้าจอหลายรูปหลายขนาดมากมาย ทั้งแบบ wide screen และแบบทั่วไป การกำหนดขนาดแสดงผลจึงไม่ควรทำ

ควรทำให้เว็บไซต์แสดงผลได้ถูกต้องทุก ๆ แบบของหน้าจอ ทุก ๆ ขนาด ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเพราะมี CSS เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของ CSS layout 

ที่กล่าวมาคือสิ่งที่ไม่ควรมีในเว็บไซต์ ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างเช่น ไม่ควรใช้ popup หรือการขีดเส้นใต้ตัวอักษรที่ไม่ใช่ลิงก์